ทำความรู้จักกับ Sick Building Syndrome หรือ โรคตึกเป็นพิษ คืออะไร

หลายท่านอาจมีความรู้สึกไม่สบายคล้ายหวัดหรือภูมิแพ้เมื่ออยู่ในอาคาร แต่เมื่อออกมาภายนอกกลับรู้สึกดีขึ้น เมื่อไปพบแพทย์ก็ไม่พบอาการอะไร วันนี้ เราจะมาแนะนำอาการที่เรียกว่า Sick Building Syndrome (SBS) ซึ่งเป็นภาวะความเจ็บป่วยที่เชื่อว่าอาจเกิดจากการทำงานภายในอาคารและสถานที่ปิด ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร อาการของภาวะนี้ค่อนข้างกว้างและอาจดูคล้ายโรคอื่น ทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้ยาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นในห้องใดห้องหนึ่งหรือกินบริเวณกว้างทั้งอาคารก็ได้  อาการที่พบมักเป็นภาวะผิดปกติด้านสุขภาพทางตา จมูก ลำคอ การหายใจส่วนล่าง ผิวหนังและอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นคล้ายกันในกลุ่มคนที่อยู่ในบ้าน โดยไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้

อาการ

อาการของ Sick Building Syndrome ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง หรือระบบประสาทก็ได้ และมักทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น เช่น หวัด หรือภูมิแพ้ วิธีสังเกตเบื้องต้นให้ดูว่าอาการต่อไปนี้ดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกจากอาคารหรือไม่ และมีอาการอย่างไรเมื่อกลับไปอยู่ภายในอาคารอีกครั้ง

    • ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
    • คัดจมูก น้ำมูกไหล
    • ระคายเคืองตา ตาแห้ง
    • เจ็บคอ ระคายเคืองคอ ไอ
    • หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังหวีด
    • ผิวหนังแห้ง คัน มีผื่นขึ้น
    • อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิทำงาน สมองล้า
    • มีไข้ หนาวสั่น
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ อาการของ Sick Building Syndrome อาจรุนแรงขึ้นได้หากเกิดขึ้นพร้อมกับอาการภูมิแพ้หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลให้อาการของโรคอื่นกำเริบได้เช่นกัน นอกจากนี้

sbs_1

สาเหตุ

  • การถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ ฝุ่นควัน สารพิษ และเชื้อโรคต่างๆ ในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ
  • มลพิษจากภายนอก เช่น ฝุ่น ผง ควันบุหรี่ หรือควันจากรถยนต์ที่ลอยเข้ามาในอาคาร
  • มลพิษ สารพิษ และสารเคมีต่างๆ จากภายในอาคาร ได้แก่
    • เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรียที่สะสม
    • ควันบุหรี่ ควันจากเตาอาหาร
    • น้ำยาทำความสะอาด สีทาผนัง และสารฟอร์มาลดีไฮด์ในพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้
    • แร่ใยหินที่ใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุต่างๆ ภายในอาคาร เช่น กระเบื้อง ท่อน้ำประปา ท่อซีเมนต์
    • ก๊าซเรดอนที่เป็นสารกัมมันตรังสีที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และอาจสะสมอยู่ในบ้านที่ไม่มีการระบายอากาศ
  • ความสว่างภายในอาคาร เช่น แสงไฟที่สว่างจ้าหรือมืดเกินไป ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น รวมถึงความชัดและความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่สบายตา
  • ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น
    • อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป และระดับความชื้นในอากาศที่ต่ำ
    • มีเสียงรอบข้างดังเกินไป
    • มีแมลงหรือมูลของเสียจากสัตว์ เช่น หนู จิ้งจก เป็นต้น
asian-woman-sitting-sad-by-her-bed

แนวทางแก้ไข

    • ลดปริมาณมลภาวะทางอากาศ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีต้นกำเนิดของไอระเหยที่เป็นพิษให้น้อยที่สุด (ค่า VOCs ต่ำ) เช่น ใช้สีทาผนังแบบที่ไม่มีโลหะหนักผสม
    • ทำความสะอาดบ้าน เครื่องเรือน ดูดฝุ่นตามพรม หรือซักผ้าม่านให้บ่อยขึ้น เพื่อไม่ให้มีไรฝุ่นเกาะสะสม
    • ลดภาวะเสียงรบกวนเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อหู การออกแบบให้ผนังบ้านมีความหนามากกว่าปกติ จะช่วยป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้
    • หลีกเลี่ยงการตากผ้าเปียกในบ้าน ไม่ควรทิ้งขยะค้างคืนไว้ในบ้าน เพราะเป็นแหล่งอาหารของแมลงสาบ เชื้อรา
    • หาต้นไม้ในร่มมาปลูก ตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในห้อง เพื่อช่วยฟอกอากาศ
    • หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรเปิดหน้าต่างและใช้พัดลมเป่าเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ
    • เปลี่ยนหรือทำความสะอาดฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศทุก 2-3 เดือน
    • ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสิ่งสกปรกภายในห้อง
    • ปรับแสงไฟภายในอาคารให้สว่างพอดี ปรับแสงหน้าจอให้สบายตา และอัปเกรดจอแสดงผลต่างๆ ให้สามารถมองได้โดยไม่ต้องเพ่งสายตา
    • พยายามผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการหรือมีอาการแย่ลงได้
    • หมั่นพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมองออกไปไกลๆ ประมาณ 20 วินาที ทุกๆ 20 นาที และอย่าลืมกระพริบตาบ่อยๆ
    • หาโอกาสออกไปสูดอากาศข้างนอก เช่น ช่วงพักกลางวัน พักเบรค หรือระหว่างไปเข้าห้องน้ำ
    • ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายหรือทำท่ากายบริหารง่ายๆ เพื่อคลายความเมื่อยล้าที่อาจเกิดจากการนั่งนานเกินไป

หากปรับตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็ถึงเวลาที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยหากไม่ได้เกิดจากโรคอื่น แพทย์อาจตรวจว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานหรือไม่

ที่มา : https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/938-sick-building-syndrome-sbs

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save