รับมืออย่างไรกับค่าผ่อนคอนโดที่สูงขึ้น สวนทางกับรายรับ

‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎สำหรับผู้ที่กำลังจะผ่อนคอนโด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน MRR MLR MOR เป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ธนาคารมักเลือกรูปแบบ MRR เพราะ MRR จัดประเภทของผู้กู้รายย่อยให้อยู่ในประเภทผู้กู้รายย่อยชั้นดี แตกต่างจาก MLR/MOR ที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าประเภทรายใหญ่ชั้นดี และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ แต่ปัจจุบันค่าครองชีพได้ปรับสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนคนทำงานเงินเดือนหลายคนก็อาจจะใช้ชีวิตลำบากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าใช้ชีวิตประจำวัน ค่าไฟ ค่าน้ำ และยังมีค่าผ่อนคอนโดที่มักจะสูงขึ้นเป็นขั้นบันได วันนี้เราเลยจะมาแนะนำในเรื่องของค่าผ่อนคอนโดที่สูงขึ้น ถ้าลองหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ

cal

1. ปล่อยให้เช่า
‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎กรณีที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ประจำ มีบ้านอยู่แล้ว หรือมีที่พักอาศัยอื่น อาจจะลองให้ปล่อยเช่าห้องคอนโดไปก่อน เว้นแต่เราอยู่คอนโดเป็นหลัก ก็อาจถึงเวลาต้องเลือกที่ๆ เหมาะกับชีวิตของเรามากที่สุด

2. หารายได้เสริม
‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎กรณีที่ยังพอจะผ่อนต่อไปไหว แต่รายรับไม่ได้เพิ่มอย่างเพียงพอ ซ้ำต้องจ่ายค่าผ่อนคอนโดที่เพิ่มขึ้น (เช่น ในกรณีที่รีไฟแนนซ์แล้วก็ยังไม่เพียงพอ) ก็อาจจะลองหารายได้เสริมไปก่อน ถึงแม้ว่าอาจจะเหนื่อย และลำบาก แต่ถ้าเรายังต้องการที่จะอยู่คอนโดนี้ต่อ ก็จำเป็นต้องทำแล้วค่ะ รายได้เสริมที่ว่านี้ อาจจะเป็นการขายของออนไลน์ หรือถ้าใครพอมีทักษะในการเขียนก็อาจจะรับงานเขียนคอนเทนต์ทั่วไป หรือถ้ามีทักษะด้านอื่น ๆ ก็ลองนำมาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาหารายได้เสริม

3. ใช้จ่ายให้น้อยลง เก็บเงินให้มากขึ้น
‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎อีกวิธีที่อาจจะเหนื่อยอีกเช่นกัน ก็คือการรัดเข็มขัดนั่นเอง รายได้เราอาจจะเท่าเดิม เพิ่มเติมคือรายจ่าย แต่ถ้าเราหารายได้เพิ่มแต่ก็ยังไม่พอ และยังต้องผ่อนคอนโดอยู่ สิ่งที่พอจะทำได้อีกอย่างก็คือการประหยัดเพิ่มขึ้น อาจจะตัดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นน้อยที่สุดออกไปให้หมด ค่าช็อปปิ้ง ค่าท่องเที่ยว และอื่น ๆ อาจจะยากสำหรับบางคน แต่ก็ต้องทำ

LINE_ALBUM_Finn Condo 4 _Suite 36 ตรม._๒๒๐๗๐๙_10
4. ติดต่อธนาคารขอประนอมหนี้ โดยทั่วไปธนาคารก็จะมีทางเลือกให้เรา หลักๆ ก็จะมีดังนี้
  • ขยายเวลาชำระหนี้ วิธีนี้คือการเพิ่มระยะเวลาชำระหนี้ให้ยาวนานออกไป เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนค่างวดต่อเดือนลดลง เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั่นเอง เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ประจำแต่รายได้ลดลง ซึ่งมีเงื่อนไขว่าอายุของผู้กู้กับระยะเวลาที่ขอขยายเวลาชำระหนี้นั้นต้องไม่เกิน 70 ปี แต่ต้องแลกกับระยะเวลาผ่อนที่นานขึ้นมาก
  • พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย
    อีกวิธีที่ใช้ประนอมหนี้กับธนาคารด้วยการพักชำระเงินต้น หรือก็คือการขอผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินต้น แต่ข้อเสียคือ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการพักชำระเงินต้น จำนวนเงินต้นก็ยังมีเท่าเดิม ที่เราต้องจ่ายต่อไป ไม่ควรใช้วิธีนี้นาน ๆ
  • ขอลดยอดผ่อนชำระรายเดือนให้ต่ำกว่าปกติ
    บางธนาคารมีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องการให้ชำระค่างวดให้ต่ำกว่าปกติ โดยปรับลดให้ถึง 30%  ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ปี และต้องเว้นระยะเพื่อทำเรื่องใหม่
  • โอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราว
    เราสามารถโอนบ้านให้เป็นของสถาบันการเงินไปก่อนชั่วคราว แล้วค่อยขอซื้อคืนในภายหลัง วิธีนี้เราต้องโอนบ้านไปเป็นของสถาบันการเงิน แล้วเราจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้เช่า ซึ่งทางสถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าเราประมาณเดือนละ 0.4 – 0.6% ของมูลค่าหลักประกัน ต่อสัญญา 1 ปี และเมื่อเราต้องการซื้อคืน ส่วนใหญ่แล้วราคาขายจะคิดจากยอดหนี้ที่เหลือ ซึ่งเราก็สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน
  • พักชำระหนี้
    การพักชำระหนี้จะสามารถพักการจ่ายได้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ใช้ในกรณีที่เราประสบปัญหาด้านการเงินจนทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสถาบันการเงินจะให้ระยะเวลาในการพักหนี้ประมาณ 3-6 เดือน หลังจากนั้นเราก็กลับมาชำระหนี้ใหม่
  • Refinance หรือ Retention
    Refinance
    รีไฟแนนซ์ เป็นวิธีที่หลายคนใช้เป็นวิธีปกติของการผ่อนชำระหนี้ เพื่อปรับลดดอกเบี้ยเป็นประจำทุกๆ 3 ปีอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นอีกวิธีที่ใช้ในการประนอมหนี้ได้ด้วยเช่นกัน เงื่อนไขก็คือต้องมีการผ่อนชำระกับสถาบันการเงินมาก่อนขั้นต่ำ 3 ปี ซึ่งหลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะเริ่มสูงขึ้น เราสามารถสิ้นสุดสัญญากับสถาบันการเงินเก่า เพื่อไปยื่นเรื่องของรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ โดยเลือกสถาบันที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็จะมีในเรื่องของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าจัดการสินเชื่อ ค่าธรรมเนียม ซึ่งต้องคำนวณให้ดีด้วย
    Retention ก็เป็นอีกวิธีที่หลักการจะคล้ายๆ กับการรีไฟแนนซ์ แต่จะเป็นการขอปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ที่มีการผ่อนชำระมาแล้ว 3 ปี วิธีนี้จะมีข้อดีก็ตรงที่สถาบันการเงินเดิมของเรามีข้อมูลและเอกสารของเราอยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรีไฟแนนซ์ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำไม่เท่ากับการรีไฟแนนซ์ ซึ่งเราก็ต้องไปพิจารณากันให้ดีอีกที
 ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‎‎‎‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎‏‏‎ ‎ก็หวังว่าใครที่กำลังประสบปัญหารายได้เริ่มไม่เพียงพอ จะสามารถหาช่องทางที่เหมาะสมเพื่อรักษาคอนโดที่เป็นที่พักอาศัยของเราได้นะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save