เช็คให้ชัวร์ จัดการในบ้าน ก่อนเที่ยวยาวๆ ช่วงปีใหม่ ให้บ้านปลอดภัย
ช่วงปีใหม่ก็เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนได้วางแผนไปเที่ยวกันบางท่านจะไปต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศ ยิ่งปีที่ผ่านมาเป็นมีเรื่องราวต่างๆ เข้ามามากมาย ช่วงปีใหม่ได้หยุดหลายวันก็อยากจะพักผ่อนกันบ้าง หลายคนได้วางแผนปิดคอนโดออกไปเที่ยวยาวๆ กันแล้ว แต่อย่าลืมเช็คความปลอดภัยก่อนที่จะไม่อยู่บ้านกัน ยิ่งเมื่อต้องห่างบ้านไปนาน ๆ อาจเสี่ยงต่อโจรขโมย หรือเรื่องฉุกเฉินอย่างไฟฟ้าลัดวงจรได้ไม่อย่างนั้นเทศกาลปีใหม่กลับมาอาจจะเป็นการเริ่มต้นปีที่เราไม่อยากนึกถึงเลย
แล้วเราควรจะเริ่มต้นดูแลบ้านยังไง ? ก่อนจะไม่อยู่บ้านนานๆ วันนี้เรานำปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในบ้านมาบอก พร้อมวิธีการเช็คดูแต่ละจุดว่าควรตรวจสอบอะไรบ้าง ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้แน่ใจ ลองมาทำตามทริคเหล่านี้ก่อนออกจากบ้านกันครับ
ใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรวจสอบจากตรงไหนก่อนดีก็สามารถไล่เช็คไปพร้อมๆกันได้เลยครับ
ระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมักเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้านพักอาศัยเลยครับ ซึ่งก่อนออกจากบ้านเราควรปิดสวิตซ์ไฟภายในบ้านให้มากที่สุด ถ้าปิดได้หมดเลยก็ดีครับ แต่เราก็มักจะมีของแช่ในตู้เย็น หรือต่อกับสัญญาณกันขโมย กล้อง CCTV ไว้ หรือแม้แต่บางบ้านมีสัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ต้องเปิดไฟ, พัดลม เปิดเครื่องทำออกซิเจนในตู้ปลาไว้ ก็ทำให้ไม่สามารถปิดไฟฟ้าภายในบ้านได้ทั้งหมด เราจึงควรป้องกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ
– ปิดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะเครื่องทำความร้อน เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น, เตาไฟฟ้า, เตารีด, เตาอบ เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟมาก ก็มีโอกาสเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้มากตามไปด้วย
– ถอดปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้งานทั้งหมด เช่น TV, เตาไฟฟ้า, พัดลม, หม้อหุงข้าว, โคมไฟ เป็นต้น
เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ ไม่ใช้ปลั๊กพ่วงต่อๆกันหลายชั้น
เตา/ ความร้อน
อีกสาเหตุหลักๆของเพลิงไหม้เลยก็คือภายในครัว หรือจุดที่มีการใช้ความร้อนสูงอย่างเตาไฟฟ้า เป็นต้น เราจึงควรตรวจสอบให้ละเอียดก่อนจะออกไปเที่ยวยาวๆนะครับ เพราะเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาจะไม่คุ้มนะ
– อย่าลืมปิดเตาให้สนิท ถอดปลั๊ก
– ไม่ควรทิ้งก้นบุหรี่ไม่เป็นที่ เพราะอาจจะไปเจอกับกระดาษหรือผ้า หรือวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้
– อย่าลืมดับธูป เทียนให้หมด เพราะอาจจะมีลมพัดไปโดนวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงเช่นกันครับ
สารเคมี
นอกจากแปลวไฟตรงๆแล้ว ยังควรระวังสารเคมีติดไฟด้วยครับ
– ไม่ควรวางสารเคมีติดไฟได้ไว้ในที่แสงแดดส่องถึง หรือมีความร้อนสูง พวกสเปร์ยดับกลิ่นต่างๆ ยาฆ่าแมลง รวมไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดที่มีแบตเตอรี่ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เพราะแบตเตอรี่แบบลิเทียมเมื่อเจอความร้อนสูงอาจลุกไหม้ได้
ระบบประปา
ก่อนออกเดินทางยาวๆ เพื่อป้องกันน้ำรั่ว น้ำท่วม ทำให้เสียค่าน้ำไปฟรี ๆโดยที่เราไม่รู้ตัว และอาจะเกิดความเสียหายให้กับวัสดุพื้น หรือเฟอร์นิเจอร์ของเราได้ ขอแนะนำให้ทำตามวิธีดังนี้ครับ
– ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกจุด น้ำที่หยดเล็กๆออกจากก๊อกที่ปิดไม่สนิทอาจรวมกันแล้วไหลนองออกมาโดนพื้น หรือเฟอร์นิเจอร์ของเราจนเสียหายได้
— เช็คว่ามีน้ำรั่วตรงไหนหรือไม่ ถ้ามีให้ซ่อมแซมแก้ไขเสียก่อน
– ปิดวาล์วน้ำที่ท่อเมน
หลังคา / ขอบประตูหน้าต่าง / ระเบียง
นอกเหนือจากการที่เราประมาทลืมปิดน้ำเองแล้ว ยังมีสาเหตุของน้ำรั่ว / น้ำท่วมที่เราไม่ได้คาดคิดอย่างฝนตกหนักอีกด้วย ถ้าเราทราบจุดที่น้ำอาจรั่วเวลาฝนตก ควรแก้ไขและป้องกันไว้ก่อนครับ
– ถ้าหลังคาน้ำรั่ว และมีการหยดลงมาจากฝ้า ให้หาถังมารองตรงจุดที่รั่วไว้ก่อน
– ถ้ามีประตู / หน้าต่างที่กรอบบานรั่ว น้ำซึมเข้ามาได้ ให้ใช้ซิลิโคน, ยาแนวอุดรอยร้าว หรือรูที่อาจเกิดการรั่วซึมได้
– ตรวจดูท่อระบายน้ำว่ามีอะไรอุดตัน/ขวางทางน้ำหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออกเพื่อให้น้ำระบายได้ดี
ประตู / หน้าต่าง
ประตู / หน้าต่าง นอกจากจะเกิดการรั่วซึมของน้ำแล้ว ยังเป็นสาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ขโมยตัดสินใจเข้ามาได้ครับ โดยเฉพาะคนที่ชอบเปิดประตูทิ้งไว้ไม่ล็อค คิดว่าไม่เป็นไร มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย CCTV
ล็อคประตู หน้าต่าง ให้ครบทุกบาน
มีอุปกรณ์ป้องกันขโมย เช่น Magnetic sensor, Shock Sensor เป็นต้น
ถ้าเป็นประตูกระจกควรปิดม่านให้มิดชิด ไม่ให้มองเห็นสิ่งของจากภายนอกได้
อย่าลืมล็อคประตู / หน้าต่างทางฝั่งระเบียง
ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม
เราได้ตรวจเช็คภายในบ้านกันไปแล้ว ใครที่ยังรู้สึกว่าไม่มั่นใจยังห่วงบ้านอยู่ละก็ แนะนำให้เพิ่มความมั่นใจโดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภายในบ้านเพิ่มเติม การมีอุปกรณ์ที่ไว้ใจได้ก็เหมือนกับเราได้อยู่ดูแลบ้านเอง ซึ่งเราจะขอแนะนำเป็นอุปกรณ์ที่ติตตั้งง่ายๆได้ที่บ้านโดยไม่ต้องเดินระบบให้วุ่นวาย และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ในบทความต่อไปคัรบ